รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
ครองราชย์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
819 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
พ.ศ.
2478
2478 รัชกาลที่ 8
เสด็จขึ้นครองราชย์
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.
2478 คณะรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
พระราชนัดดาในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา-บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จขึ้นครองราชย์ (ภายหลังได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร)
2478 - 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต(1)
วันที่ 23 พฤษภาคม
พ.ศ. 2478
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกประกาศจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัยเทียบปริญญาเวชชบัณฑิต
โดยให้
เวชชบัณฑิตชั้นเอก
หมายความเช่นเดียวกับ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต
เวชชบัณฑิตชั้นโท
หมายความเช่นเดียวกับ แพทยศาสตรมหาบัณฑิต
เวชชบัณฑิตชั้นตรี
หมายความเช่นเดียวกับ แพทยศาสตรบัณฑิต
2478 - 2
จดหมายมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์แถลงขอบคุณและยุติข้อตกลงร่วมมือ(2)
(The Agreements)
วันที่ 23 พฤษภาคม
พ.ศ. 2478 Mr. Max Mason ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
มีจดหมายแสดงความขอบใจรัฐบาลสยามที่ได้พยุงกิจการให้ดำเนินไปตามข้อตกลงร่วมมือมาโดยตลอด
มีความสำคัญบางตอนว่า
…From Dr. Aller G. Ellis, The Rockefeller Foundation requested and has
received a final report upon the collaboration between the Government of Siam
and The Rockefeller Foundation in reorganization of the Medical School of the Chulalongkorn University…fulfilled the spirit of the
undertaking and surpassed the actual terms of the agreements has given us great
satisfaction and isrightfully an occasion of pride
and hope in the future of medical education in Siam…
วันที่ 6
พฤศจิกายน พ.ศ. 2489
กระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่า
ตามกระทรวงสาธารณสุขขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรศาสตร์มาอบรมชั่วคราวให้แก่แพทย์ไทยนั้น
ทางอัครราชทูตอเมริกันได้แจ้ง
820 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
อาจารย์สอนวิชาพยาธิวิทยาที่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล
ตามโครงการของร็อคกี้เฟลเลอร์อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนที่
3
พ.ศ.
2478 - 2479
คณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลคนที่
3
ข้อขัดข้องของประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ผ่านทางรัฐบาลอเมริกันมาว่า
ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อร้องขอในเรื่องนี้ได้
2478 - 3
คณะกรรมการพิจารณาการสาธารณสุขและการแพทย์(3)
วันที่ 6 ธันวาคม
พ.ศ. 2478
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการสาธารณสุขและการแพทย์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2477
มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ
มีหน้าที่พิจารณาปัญหาเรื่องการแพทย์และการสาธารณสุขนั้น คณะกรรมการได้เสนอโครงการต่อรัฐบาลดังนี้
1) การอนามัยในหัวเมือง
2) การควบคุมไข้จับสั่น
3) การควบคุมวัณโรค
4) การควบคุมโรคเรื้อน
5) การควบคุมโรคจิต
6) การควบคุมกามโรค
7) การควบคุมอาหารและยา
8) การสงเคราะห์มารดาและเด็ก
9) การอนามัยโรงเรียน
821 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
พ.ศ.
2479
2479 - 1
พันเอก พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จัดทำ “ธรรมระวางประเทศ1” หนังสือรวบรวมอนุสัญญาระหว่างประเทศเผยแพร่(4)
ในหน้าคำสั่งชี้แจงระบุไว้ว่า
...เนื่องด้วยประเทศเราได้เข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาต่าง
ๆ อันเป็นธรรมระวางประเทศ ประกอบกับ เราเป็นประเทศเล็ก
จำจักต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ดุจเป็นกฎหมายในบ้านเมืองของเราเอง
ฉะนั้นเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะกับเหตุการณ์
จึ่งทหารทุกคนพึงศึกษาทราบไว้ โดยสมควรแก่ตำแหน่งหน้าที่...
พ.อ.พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
อนุสัญญาระหว่างประเทศทางด้านการทหาร
1) คำปฏิญาณว่าด้วยการห้ามมิให้ใช้กะสุนบางอย่างในเวลาสงครามระหว่างประเทศ
ทำที่กรุงเศนต์ปีเตอร์สเบอร์ก วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.
2511(5)
2) คำปฏิญาณว่าด้วยการห้ามใช้ลูกกะสุนซึ่งขยายตัวออก
หรือแบนตัวได้ง่าย เมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ฯลฯ ฉบับกรุงเฮก ลงวันที่ 29
กรกฎาคม พ.ศ. 2442
3) อนุสัญญาว่าด้วยการเริ่มการสู้รบฉบับกรุงเฮก
ลงวันที่ 18 ตุลาคมพ.ศ. 2450
4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
และหน้าที่ของประเทศและบุคคลอันเป็นกลาง ในเมื่อมีการสงครามทางบก ฉบับกรุงเฮก
ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2450
5) อนุสัญญาว่าด้วยกฎและธรรมเนียมการสงครามทางบก
ฉบับกรุงเฮก ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2450
6) บทบัญญัติต่อท้ายอนุสัญญา
ข้อบังคับ ว่าด้วยกฎและธรรมเนียมการสงครามทางบก
7) โปโตคลว่าด้วยการห้ามใช้ก๊าสมึนเมาเป็นพิษ
หรือก๊าสอื่น ๆ ในการสงคราม และห้ามวิธียุทธโดยใช้เชื้อโรคฉะบับกรุงเยเนวา
ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2468
8) อนุสัญญาเยเนวา
เพื่อยังการเป็นไปของผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบให้ดีขึ้น ลงวันที่ 27
กรกฎาคม ค.ศ. 1929
822 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
9) อนุสัญญาการปฏิบัติต่อชะเลยศึก
ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1929
10) ภาคผนวกอนุสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชะเลยศึก
ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2472
(ค.ศ. 1929)
หมายเหตุ
ธรรมระวางประเทศ
หมายถึง กฎหมายระหว่างประเทศ (Treaty, Convention, Declaration,…)
“คำปฏิญาณ”
มาจากคำว่า Declaration ปัจจุบันเรียกว่า
“ปฏิญญา”
อนุสัญญาระหว่างประเทศทางด้านการทหาร
ข้อ 2
- 7 อยู่ในหมวดอนุสัญญากรุงเฮก และข้อ 8 - 10
อยู่ในหมวดอนุสัญญาเจนีวา
“อนุสัญญาระหว่างประเทศทางด้านการทหาร” ปัจจุบันรวมเป็นหมวดและเรียกชื่อใหม่ว่า
“กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” เป็นกฎหมายกำกับวิธีการทำสงครามเพื่อควบคุมผลกระทบต่อมนุษยชาติที่เผชิญสงคราม
(International Humanitarian Law : IHL is the
law that regulates the conduct of war - jus in bello) ประกอบด้วยอนุสัญญาสำคัญของประวัติศาสตร์โลก
2 ชุด คือ ชุดอนุสัญญาเจนีวาและชุดอนุสัญญากรุงเฮก
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้แบ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International
Humanitarian Law : IHL) ออกเป็น 6 หมวด(6) ได้แก่
หมวด 1 Victims of Armed
Conflicts เช่น Hague Convention on Hospital Ships, 1904 /
Hague Convention (XI) on Restrictions of the Right of Capture, 1907 / Geneva
Convention (III) on Prisoners of War, 1949
หมวด 2 Methods and Means
of Warfare เช่น Hague Convention (II) on the Laws and
Customs of War on Land, 1899 / Geneva Protocol on Asphyxiating or Poisonous
Gases, and of Bacteriological Methods, 1925 / Convention on the Prohibition of
Biological Weapons, 1972 / Convention prohibiting Chemical Weapons, 1993 / CCW
Protocol (IV) on Blinding Laser Weapons, 1995 / Treaty on the Prohibition of
Nuclear Weapons, 2017
หมวด 3 Naval and Air
Warfare เช่น Hague Convention (VIII) on Submarine Mines,
1907 / San Remo Manual on Armed Conflicts at Sea, 1994
หมวด 4 Cultural
Property เช่น Hague Convention for the Protection of Cultural
Property, 1954 / Resolutions on Cultural Property, The Hague, 1954
หมวด 5 Criminal
Repression เช่น Convention Statutory Limitations to War
Crimes, 1968 / Statute of the International Criminal Tribunal for Rwanda, 1994
/ Statute of the International Criminal Court, 1998 / Statute of the Special
Court for Sierra Leone, 2002
หมวด 6 Other Treaties
Relating to IHL เช่น Convention on the Prevention and
Punish-ment of Genocide, 1948 / Convention for the
Protection of all Persons from Enforced Disappearance, 2006 / Arms Trade
Treaty, 2013
823 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
2479 - 2
พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479(7)
วันที่ 14 เมษายน
พ.ศ. 2480
ประกาศตราพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพุทธศักราช 2479 ขึ้น
เพื่อใช้แทนพระราชบัญญัติการแพทย์ซึ่งยกเลิกทุกฉบับ
เป็นการปรับปรุงกฎหมายที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น ใช้วิธีการควบคุมกำกับ
โดยแบ่งแยกผู้ประกอบโรคศิลปะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามที่ตราไว้ในกฎเสนาบดี พ.ศ.
2472 มาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติใหม่นี้ ซึ่งจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่
1 ตุลาคม พ.ศ. 2480 เป็นต้นไป
พ.ศ.
2480
2480 - 1
โอนสิทธิกิจการบางส่วนในกรมสาธารณสุขให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ(8)
วันที่ 20 สิงหาคม
พ.ศ. 2480 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประกาศพระราชกฤษฎีกามอบสิทธิกิจการบางส่วนในกรมสาธารณสุข กรมตำรวจและกรมโยธาเทศบาล
กระทรวงมหาดไทย ให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ จัดทำ พุทธศักราช 2480 ดังนี้
...มาตรา
3 ให้มอบสิทธิกิจการต่อไปนี้ในเทศบาลนครกรุงเทพฯจัดทำต่อไป คือ
(1)
กองสาธารณสุขพระนคร กรมสาธารณสุข นอกจากกิจการอันเกี่ยวกับกองลหุโทษ
(2)
โรงพยาบาลกลาง กรมสาธารณสุข
(3)
วชิรพยาบาล กรมสาธารณสุข
(4)
กองตำรวจเทศบาล กรมตำรวจ นอกจากแผนกยานพาหนะพระนครและธนบุรี
และแผนกยานพาหนะหัวเมือง
(5)
แผนกกำจัดอุจจาระ กรมโยธาเทศบาล
(6)
แผนกโรงฆ่าสัตว์ กรมโยธาเทศบาล
2480 - 2
ให้สภากาชาดไทยอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม(9)
วันที่ 16
พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 หลวงพิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีหนังสือลับ - ด่วนที่ น. 10876/2480 ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องขอรับหลักการในการควบคุมสภากาชาดสยาม
ความว่า
...เรื่องกาชาดนี้
เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในยามสงคราม จึ่งเป็นเรื่องของทหาร
กิจการของสภากาชาดสยามนั้น ย่อมเป็นอุปกรณ์อย่างสำคัญแก่กองทัพ...แต่ สภากาชาดสยามในบัดนี้ ตั้งอยู่โดยเอกเทศ ไม่ขึ้นกับ
824 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
กระทรวงทบวงกรมใด
ทางราชการทหารเคยรู้สึกไม่สะดวกมาแล้ว ในคราวเกิดความไม่สงบ เมื่อ พ.ศ.
2476 เป็นตัวอย่าง
อีกประการหนึ่ง
สำหรับเครื่องหมายกาชาดนั้น เป็นเครื่องหมายพยาบาลในกองทัพ แม้อนุสัญญาเยนีวา
เพื่อยังความเป็นไปของผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบให้ดีขึ้น ลง 27
กรกฎาคม 2472 ซึ่งฝ่ายเราจะสัตยาบันต่อไป ก็เป็นเช่นนั้น...และเรื่องเกี่ยวกับกาชาดนี้
ก็มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาทหารเหมือนกัน
แต่ในบัดนี้การควบคุมการใช้หรือคุ้มครองเครื่องหมายกาชาดนี้ อยู่ในอำนาจสภากาชาดสยาม...ถ้าจะให้สภากาชาดสยามขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหมโดยตรง
ก็จะกระทบกระเทือนมากเกินไป จึ่งใคร่ขอแต่เพียงให้
สภากาชาดสยามอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม เท่านั้น ส่วน
การบริหารภายในสภากาชาดสยามก็คงดำเนินการไปตามเดิม...
เมื่อกระทรวงกลาโหมควบคุมสภากาชาดสยามแล้ว
การคุ้มครอง
หรือการควบคุมการใช้เครื่องกาชาดและนามกาชาดก็ควรเป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมต่อไป...
วันที่ 17
พฤศจิกายน พ.ศ. 2480
รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 22/2480ณ วังปารุสกวัน
ความสำคัญบางตอนว่า
...รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : ...เกี่ยวกับอนุสัญญาควบคุมเครื่องหมายกาชาดที่กระทรวงต่างประเทศส่งมา
รายละเอียดควรพิจารณาในชั้นพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
มีหลายประเทศกระทำดั่งที่กระทรวงกลาโหมส่งมา
แต่ก็มีบางประเทศที่ให้สภากาชาดขึ้นกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : หลักการควบคุมถูกต้องแล้ว
แต่สัตยาบันไม่ต้องเสนอสภาผู้แทนราษฎร เพราะสัญญานี้ได้ทำก่อนประกาศรัฐธรรมนูญ...ที่ประชุมตกลงรับหลักการ และอนุมัติให้ดำเนินการต่อไป
หมายเหตุ
การที่หลวงพิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีหนังสือกล่าวว่า “สภากาชาดสยามในบัดนี้
ตั้งอยู่โดยเอกเทศ ไม่ขึ้นกับกระทรวงทบวงกรมใด
ทางราชการทหารเคยรู้สึกไม่สะดวกมาแล้ว” แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในยุคนี้ไม่เข้าใจเรื่องกาชาดและอนุสัญญาเจนีวา
เพราะอนุสัญญาเจนีวาให้ “สภากาชาดของแต่ละประเทศ”
มีความเป็นอิสระ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของตนเอง เพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
(Humanitarian) แก่มนุษยชาติทั้ง 2 ฝ่าย
โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือฝ่ายศัตรู
จึงมีหน้าที่ช่วยเหลือทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏเพื่อมนุษยธรรม ตามอนุสัญญาเจนีวา ร.ศ. 125 ข้อ 10 ว่าด้วยการจัดตั้ง National
Red Cross Society มีผลผูกพันบังคับให้รัฐบาลแต่ละประเทศจัดตั้งสภากาชาดของประเทศตนเองขึ้น
ให้ National Red Cross Society เป็นองค์กร
825 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
อิสระภายใต้กฎหมาย
ดังนี้
…Article 10 of
the Geneva Red Cross Convention of the 6th July 1906
provides that each contracting State shall notify to the others the names of
the Voluntary Aid Societies which it has authorized, under its ownresponsibilities, to render assistance to the regular
Medical Service of its Armies…
พ.ศ.
2482
2482 - 1
กระทรวงกลาโหมตั้งโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์(10)
วันที่ 12
มิถุนายน พ.ศ. 2482 นายพันเอก
หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม มีหนังสือที่ น. 4112/2442 ถึงนายกรัฐมนตรี
เรื่องขอตั้งงบประมาณสำหรับตั้งโรงเรียนฝึกและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตร
มีความสำคัญบางตอนดังนี้
เนื่องจากกระทรวงกลาโหมมีความประสงค์จะส่งเสริมสุขภาพของประชาชนพลเมืองในประเทศให้ดียิ่งขึ้น
โดยจะจัดหาเจ้าหน้าที่แพทย์ให้มีจำนวนเพียงพอ
หากแต่เวลานี้เจ้าหน้าที่แพทย์ยังมีน้อยเกินไป...ซึ่งจะต้องรอเวลาอีกหลายสิบปีจึ่งจะมีแพทย์เป็นจำนวนมากพอ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามชนบทให้ทั่วถึงทุกอำเภอได้
เพื่อแก้ความขัดข้องในเรื่องนี้
เห็นควรให้มีการเพาะแพทย์ประกาศนียบัตรขึ้นในวงการทหาร
โดยให้มีหลักสูตรกำหนดการศึกษาสั้นกว่าหลักสูตรแพทย์ปริญญาพอสมควร
จึ่งได้วางโครงการที่จะเปิดรับนักเรียนเข้ามารับการฝึกและอบรมในโรงเรียนแพทย์ทหาร
โดยมีหลักสูตร 4 ปี
แต่ก็ได้พยายามรักษามาตรฐานขั้นต่ำสุดแห่งวิทยฐานะแพทย์ไว้มิให้ต่ำต้อยลงไปจนเกินสมควร
กับได้กะประมาณการใช้จ่ายในการตั้งโรงเรียน
โดยกำหนดเวลาสำหรับการดำรงของโรงเรียนและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตร เพียง 7
ปีเท่านั้น คือ จะเพาะแพทย์ประกาศนียบัตรขึ้น 4 รุ่น ๆ ละ 120 คน
และในรุ่นหนึ่ง ๆ มีกำหนดการศึกษา 4 ปี เมื่อครบ 7
ปีบริบูรณ์จะเพาะแพทย์ได้ประมาณ 480 คน ซึ่งเพียงพอที่จะจ่ายไปประจำทั่วประเทศ...1. โรงเรียนฝึกและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตรจะตั้งขึ้นที่
โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี...
วันที่ 29 ธันวาคม
พ.ศ. 2482
กระทรวงกลาโหมได้เรียกชื่อโรงเรียนฝึกและอบรมแพทย์ประกาศนียบัตรว่า “โรงเรียนนายทหารเสนารักษ์”
826 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
โรงเรียนนายทหารเสนารักษ์
จังหวัดลพบุรี
2482 - 2
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ใช้ชื่อประเทศไทย(11)
วันที่ 24
มิถุนายน พ.ศ. 2482
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ “ชื่อประเทศ
คือ ไทย (Thailand)” “ชื่อประชาชนและสัญชาติ คือ ไทย
(Thai)”
2482 - 3
เปลี่ยนชื่อสภากาชาดสยามเป็นสภากาชาดไทย
วันที่ 19 ตุลาคม
พ.ศ. 2482 สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศพุทธศักราช
2482 พระยาศรีวิสารวาจา เลขาธิการสภากาชาดสยามในขณะนั้น
จึงประกาศแจ้งความเปลี่ยนชื่อสภากาชาดสยามเป็นสภากาชาดไทย
2482 - 4
ประเทศไทยเข้าร่วม “อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3”
และประกาศใช้อนุสัญญาฉบับที่ 3
ในพระราชอาณาจักร(14)
วันที่ 27 กรกฎาคม
พ.ศ. 2472
ผู้แทนฝ่ายไทยได้ลงนาม
“อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อยังการเป็นไปของผู้ต้องบาดเจ็บและป่วยไข้ในสนามรบให้ดีขึ้น”
และ “อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก”
ซึ่งได้ลงนาม ณ เมืองเจนีวา (อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่
3)
วันที่ 11
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 อนุสัญญาทั้ง 2
ฉบับได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
827 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
วันที่
3 มิถุนายน พ.ศ. 2482
มอบพระราชสัตยาบันสาส์น ลงวันที่ 10 มีนาคม พุทธศักราช 2480 มอบให้รัฐบาลสวิส
อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับเป็นอันใช้แก่ราชอาณาจักร 6
เดือนภายหลังวันที่ได้มอบพระราชสัตยาบันสาส์นเป็นต้นไป
วันที่ 24
พฤศจิกายน พ.ศ. 2482
มีพระบรมราชโองการประกาศว่า อนุสัญญาทั้ง2
ฉบับเป็นอันบังคับในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 เป็นต้นไป
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
เอกสารจาก United Nation
Library and Archives Palais des Nations, Geneva
by Mr. Collin Wells
828 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
พ.ศ.
2483
2483 - 1
เปลี่ยนวิธีนับปีปฏิทินแบบตะวันตก(12)
วันที่ 6 กันยายน
พ.ศ. 2483
ประกาศพระราชบัญญัติปีประดิทิน (ปฏิทิน) พุทธศักราช2483
ให้เริ่มปีปฏิทินใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดปีปฏิทินวันที่ 31 ธันวาคม
ของทุกปี
ก่อนหน้านี้การขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
1 - 5 ตอนต้น นับปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ คือ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า
คือวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนกลาง
เมื่อทรงเปลี่ยนเป็นนับปีปฏิทินสุริยคติจึงเริ่มนับปีใหม่ คือ วันที่ 1 เมษายน
ตั้งแต่ ร.ศ. 108 (พ.ศ. 2432) เป็นต้นมา ดังนั้นการนับปีปฏิทินของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ระหว่าง
พ.ศ. 2432 - 2483
จึงต้องบวกอีกหนึ่งปี จึงจะเป็นวิธีนับปีแบบปัจจุบัน (ในบทความนี้ได้ใช้วิธีนับปีปฏิทินแบบปัจจุบันทั้งหมด)
2483 - 2
พระราชทานที่ดินริมถนนพระราม 4 จำนวน 141 ไร่ 48 ตารางวา
แก่สภากาชาดไทย(13)
วันที่ 25 ธันวาคม
พ.ศ. 2483
แจ้งความสภากาชาดไทย เรื่องพระราชทานที่ดินบริเวณสภากาชาด ริมถนนพระราม 4
และที่ดินตำบลแพร่งภูธรแก่สภากาชาดไทย
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้า-อยู่หัวลงมติพระราชทานที่ดินบริเวณสภากาชาดไทย
ริมถนนพระราม 4 ซึ่งเป็น ที่ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันมีเนื้อที่ 140 ไร่ 48
ตารางวา และที่ดินตำบลแพร่งภูธร ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีอนามัยที่ 2 (สุขุมาลอนามัย) อันมีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 89
ตารางวา ให้เป็นกรรมสิทธิของสภากาชาดไทยทั้ง 2 แห่ง
ตามที่กระทรวงกลาโหมขอพระราชทานให้
และตามที่กระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว
สภากาชาดไทยมีความยินดีปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งทั้งนี้พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ
หาที่สุดมิได้
สมเด็จพระศรีสวรินทรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สภานายิกาสภากาชาดไทย
ทรงพระโสมนัสอนุโมทนาเป็นที่ยิ่ง ทรงตั้งสัตยา-ธิษฐานขอพระราชจำนงในอันที่จะผะดุงอนามัยประชาชนให้ดำรงอยู่ในสันติสุขนี้
จงเป็นผลดลให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงพระราชอิสริยยศยิ่งยืนนาน
อีกทั้งขออำนาจพระศรีรัตนตรัย
และอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงประชุมกันอภิบาลรักษาพระองค์ให้ทรงพระเกษมสำราญทุกทิพาราตรี...
แจ้งความ ณ วันที่
25 ธันวาคม พุทธศักราช 2483
พระยาศรีวิสารวาจา
ลงนามแทนอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
829 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
พ.ศ.
2485
2485 - 1
กำเนิดกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(15)
วันที่ 7
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งที่4/2485 เรื่องตั้ง “กรรมการพิจารณาการปรับปรุงการแพทย์” มีความสำคัญบางตอนว่า
...ด้วยปรากฏมานานแล้วว่า
ประชากรของชาติมีอนามัยไม่ดีกับได้รับการรักษาพยาบาลก็ไม่ทั่วถึงและสมบูรณ์เพียงพอ
จึงทำให้มีผู้ถึงแก่กรรมลงในเยาว์วัยมาก ทำให้การเพิ่มพลเมืองไม่เป็นไปตามสัดส่วนอันพึงประสงค์
จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะปรับปรุงกิจการของชาติในส่วนนี้ให้รัดกุมยิ่งขึ้นและเหมาะสมแก่กาลสมัย
โดย มีความประสงค์จะรวมกิจการแพทย์ทั้งสิ้นขึ้นเป็นหน่วยเดียว
เพื่อให้รับผิดชอบร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมแรงและประสานกันดีขึ้น
ฉะนั้นจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาจัดการปรับปรุงการแพทย์ให้สมความประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้นคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย
1. จอมพล
แปลก พิบูลสงคราม เป็นประธานกรรมการ
2. นายพลโท
มังกร พรหมโยธี เป็นรองประธานกรรมการ
3. นายพันตรี
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นกรรมการ
4. นายพลตรี
พระยาดำรงแพทยาคุณ เป็นกรรมการ
5. นายเดือน
บุนนาค เป็นกรรมการ
6. นายพันตรี
นิตย์ เวชชวิศิษฏ์ เป็นกรรมการ
7. นายพลตรี
พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต เป็นกรรมการ
8. นายพูลสวัสดิ์
บุศยศิริ เป็นกรรมการ
9. พระอัพภันตราพาธพิศาล
เป็นกรรมการ
10. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เป็นกรรมการ
11. นายเถียร
วิเชียรแพทยาคุณ เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. รวมโรงพยาบาลและสถานที่พยาบาลต่าง
ๆ ที่เป็นของรัฐบาลและเทศบาลมาตั้งเป็นหน่วยการแพทย์ขึ้น จะเป็น กระทรวง หรือทบวง
หรือกรมก็แล้วแต่จะพิจารณาเห็นสมควร โดยให้สังกัดในสำนักนายกรัฐมนตรี
และถ้าจำเป็นจะแบ่งเป็นกองต่าง ๆ ด้วยก็ได้
2. ให้ยุบเลิกสภากาชาดไทย
และให้โอนโรงพยาบาลและสถานที่พยาบาลของสภากาชาดไทยมารวมกับหน่วยการแพทย์ในข้อ 1
แต่คงให้มีกองอำนวยการไว้ เผื่อจะมีติดต่อกับองค์กรสากลกาชาด
830 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
3. เรื่องอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวกับเรื่องการแพทย์นี้ตามที่คณะกรรมการนี้จะพิจารณาเห็นควรพิจารณาเสียให้เสร็จในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนี้เริ่มดำเนินการประชุมปรึกษากันโดยด่วน
และให้พิจารณาวางโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2485…
วันที่ 10
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485
คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ ครั้งที่ 1ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม
...ที่ประชุมพิจารณาว่า
งานไหนบ้างที่จะมารวม ที่ประชุมช่วยกันคิดมีดังต่อไปนี้
1) งานของกรมสาธารณสุขทั้งหมด
2) งานของเทศบาล
ในแผนกโรงพยาบาลและสุขศาลาทั้งหมด
3) โรงพยาบาลศิริราช
4) สภากาชาดไทย
5) กรมประชาสงเคราะห์
6) กองสุขาภิบาลและอนามัยโรงเรียน
กรมพลศึกษา
7) งานของแผนกแพทย์และอนามัยของกรมราชทัณฑ์
8) งานของกองเภสัชกรรมและเคมีบางส่วนที่เกี่ยวกับการแพทย์
ของกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงการเศรษฐกิจ
9) กองแพทย์
กรมรถไฟ
10) งานทางเทศบาลทั้งหมด
ส่วนงานของกองพยาบาลต่าง
ๆ ในเสนารักษ์ กระทรวงกลาโหมและงานของหน่วยแพทย์กรมตำรวจนั้นไม่ต้องมารวม
ด้วยเหตุว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับทางทหารและตำรวจโดยเฉพาะ ไม่ได้เกี่ยวกับประชาชน...
ที่ประชุมพิจารณาในส่วนต่าง
ๆ ของราชการที่จะมารวมกันนี้ เห็นว่าเป็นงานที่ใหญ่โตและกว้างขวางมาก เห็น
สมควรจะต้องจัดรูปขึ้นเป็นกระทรวงความเห็นนี้กรรมการทุกคนเห็นเป็นเอกฉันท์
ส่วนชื่อของกระทรวงนั้น
ในขั้นแรกเห็นว่าเป็นกระทรวงที่จัดขึ้นจากการรวมระหว่างการแพทย์และการสาธารณสุข
จึงเห็นสมควรเรียกนามกระทรวงนี้ว่า “กระทรวงการสาธารณสุขและการแพทย์”
แต่เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นชื่อที่ยาวมาก
ทั้งในต่างประเทศก็ได้จัดงานรูปนี้ขึ้นแล้วและให้ชื่อโดยย่อว่า “กระทรวงการสาธารณสุข” (Ministry ofHealth)
คณะกรรมการจึงตกลงเห็นควรว่ากระทรวงนี้ควรเรียกว่า “กระทรวงการสาธารณสุข”
831 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
สำหรับสภากาชาดไทยนั้น
ผู้แทนขององค์กรนี้คือ พระยาดำรง-แพทยาคุณ
ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ไม่ควรจะมารวมกับกระทรวงที่ตั้งขึ้นใหม่นี้
เพราะเหตุว่ากาชาดทุก ๆ ประเทศถือเป็นองค์กรเอกชน
ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยาบาลและช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยในยามสงคราม
กับในยามปกติก็เป็นสถานที่สำหรับเพาะและอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือในการสงคราม
กับส่วนมากเงินทุนกับการอุดหนุนก็ได้รับมาจากส่วนบุคคล
อันได้ทำเป็นอนุสาวรีย์และมูลนิธิไว้เป็นส่วน ๆ ไปแล้ว
เห็นว่าควรจะปล่อยไว้ให้เป็นองค์การอิสระ
หรือถ้าพูดถึงการเกี่ยวข้องที่จะต้องขึ้นอาศัยเงินอุดหนุนของรัฐบาล
สภากาชาดไทยก็ขึ้นอยู่กระทรวงกลาโหมแล้ว
ทั้งการที่กระทรวงใดจะเป็นผู้อนุญาตให้สถานที่ใดใช้กาชาดเพื่อสถานที่เอกชนได้
เวลานี้กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตอยู่แล้ว จึ่งเห็นว่า ไม่ควรล้มกาชาด
และเอามาขึ้นกับกระทรวงใหม่นี้
สำหรับโรงพยาบาลศิริราช
พระอัพภันตราพาธพิศาล ได้กล่าวว่า
รู้สึกขัดข้องใจที่จะให้โรงพยาบาลศิริราชมาขึ้นกับกระทรวงใหม่นี้ ด้วยเหตุว่า โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนของมหาวิทยาลัย
เป็นความสำคัญก็คือให้แพทย์ได้ทำการศึกษา
ซึ่งถ้าเป็นการสมควรก็อยากให้สถานที่พยาบาลเช่นนี้ได้อยู่กับสถานศึกษาต่อไป
เมื่อกรรมการได้รับความเห็นของสองท่านนี้
จึงได้พิจารณาแล้วยังให้ความเห็นเด็ดขาดในวันนี้ไม่ได้ ซึ่งรองประธาน จะต้องนำไปหารือกับท่านนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคณะนี้ก่อน
กรรมการจึงพิจารณาว่า
งานที่จะรวมขึ้นเป็นกระทรวงใหม่นี้ควรจะมีกรมอะไรบ้าง เมื่อได้พิจารณากันแล้ว เห็นว่า
กรมที่จัดตั้งในกระทรวงควรมีดั่งต่อไปนี้ คือ
1) กรมสาธารณสุข
2) กรมการแพทย์
3) กรมประชาสงเคราะห์
4) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
5) กรมควบคุมเทศบาล
คณะกรรมการตกลงเห็นชอบ
ประธานจึงปิดประชุมและนัดประชุมในวันรุ่งขึ้น
เปิดประชุมเวลา 9.30
น. - ปิดประชุมเวลา 12.30 น.
นายแพทย์เถียร
วิเชียรแพทยาคุณ ผู้จดบันทึก
832 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
วันที่
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485
ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม
ประธานที่ประชุมกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า
งานทางส่วนเทศบาลซึ่งได้จัดขึ้นเป็นกรมควบคุมเทศบาลนั้น
ยังไม่ควรนำมารวมกับกระทรวงใหม่นี้ ควรให้เป็นตามรูปเดิมก่อน
ที่ประชุมได้ตัดกรมควบคุมเทศบาลออก คงเหลืออยู่ 4 กรม ส่วนเรื่อง สภากาชาดไทยนั้น
ที่ประชุมเห็นว่า ไม่ต้องยุบ แต่ย้ายการควบคุมจากกระทรวงกลาโหมมาขึ้นกับกระทรวงใหม่
แต่การงานและสถานที่ให้คงอยู่ตามเดิม
วันที่ 13
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485
ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม
ในรายงานการประชุมมีความสำคัญบางตอนดังนี้
เรื่องการประกอบโรคศิลปะ
...คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
ให้อยู่ในสำนักงานปลัดกระทรวงนั้นดีแล้ว
แต่คณะกรรมการแพทย์สำหรับตั้งขึ้นเพื่อควบคุมแพทย์
เช่นเดียวกับคณะกรรมการตุลาการของกระทรวงยุติธรรมนั้น
ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่เป็นความจำเป็น เพราะมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะแล้ว
และ แพทยสภา หรือที่มีความหมายว่าสมาคมแพทย์เหมือนกับเนติบัณฑิตยสภานั้น
ทางการแพทย์เห็นว่าสมาคมนี้นับเป็นส่วนบุคคล
ทั้งไม่เป็นการสมควรจะเอามาอยู่ในส่วนบริหารของรัฐบาล
ซึ่งควรจะปล่อยให้เขาจัดไปตามเดิม
แต่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งตั้งขึ้นใหม่นี้จะช่วยสนับสนุนในความประสงค์เมื่อขอร้องมา
เป็นต้นว่าจะได้ออกพระราชบัญญัติสนับสนุนให้แพทย์ทุกคนเป็นสมาชิกของสมาคม และให้ แพทยสมาคม(16) มีสิทธิที่จะส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ...
เรื่องโรงพยาบาลศิริราช
...กองโรงพยาบาลศิริราช
ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ พระอัพภันตราพาธ-พิศาลได้ชี้แจงเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถจะเสนอรูปงานและงบประมาณได้
ก็โดยเหตุที่ยังมีความเห็นอยู่ว่า
โรงพยาบาลศิริราชจำเป็นที่จะต้องขอให้อยู่กับโรงเรียนแพทย์อันเป็นสถานที่จะให้นักเรียนทำการฝึกหัด
และทั้งไม่สามารถที่จะแยกออกจากหน่วยศึกษานี้ได้
ถ้าแยกมาแล้วจะเป็นเรื่องไม่สะดวกและขลุกขลักมาก แม้ว่าจะได้พิจารณากันวันก่อนแล้ว
ถึงว่าจะให้นักเรียนไปทำการฝึกหัดได้ในโรงพยาบาลทั่ว ๆ ไป
แต่ก็ออกจะเป็นการที่ไม่อำนวยความสะดวกให้
ทั้งยากแก่การปกครองที่จะแบ่งแยกมาแต่เฉพาะโรงพยาบาล ในมหาวิทยาลัยที่ดี เขากลับพยายามที่จะสร้างโรงพยาบาลเช่นนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์
ทั้งความมุ่งหมายและเจตน์จำนงเดิมก็ได้ให้โรง-พยาบาลศิริราชนี้อยู่กับโรงเรียนแพทย์เรื่อยมา
คณะกรรมการได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้วมีความเห็นไปใน 2 แง่ คือ...ด้านรูปการก็น่าจะมาขึ้นกับ
833 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
กระทรวงที่ตั้งใหม่นี้
แต่ถ้ามองไปในแง่การศึกษาแพทย์อันเป็นการจำเป็นที่จะต้องมีสถานพยาบาลเช่นนี้ไว้
เพื่อเป็นที่ฝึกหัดและที่เรียนของนักเรียนแพทย์และนางพยาบาล
ก็ยังเห็นว่าเป็นการไม่สมควรจะเอามารวมในกระทรวงใหม่นี้กรรมการจึงได้ตกลงให้ โรงพยาบาลศิริราชอยู่ในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
คณะแพทยศาสตร์ไปตามเดิม...
วันที่ 16
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485
ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ ครั้งที่ 5(17) ณ
ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม
มีกรรมการมาประชุม
9 ท่าน พ.ต.ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ติดราชการ และได้เชิญผู้แทนของหน่วยราชการต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่จะรวมเป็นกระทรวงการสาธารณสุขนี้มาประชุมด้วย 3 ท่าน
ดังนี้
1) หลวงชัยอัศวรักษ์
ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์
2) นายพันเอก
หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์
3) นายแพทย์กำธร
สุวรรณกิจ ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์
รองประธานได้กล่าวเปิดประชุมว่า
ตามที่ท่านนายกฯ
ได้อ่านรายงานการประชุมของคณะกรรมการปรับปรุงการแพทย์ที่ประชุมมาแล้วถึง 3
ครั้งนั้น มีความเห็นชอบในการที่ได้พิจารณาไปแล้วทุกอย่าง แต่มีข้อทักท้วงดังนี้
...ให้ตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ขึ้นในกระทรวงนี้ โอนกิจการโรงเรียนแพทย์ทั้งหมดรวมศิริราชพยาบาลด้วย
และนอกจากนั้นให้คิดเอาแพทย์สัตว์มาไว้ในกระทรวงนี้ด้วย เอามารวมให้หมด...
คณะกรรมการได้พิจารณากันแล้วว่า
ก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งตามที่ท่านได้ทักท้วงมานั้น จึ่งได้ตกลงกันเป็นเอกฉันท์...ในที่สุดตกลงกันให้นามว่า
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะต่าง ๆ กับกิจการงานที่จะมารวมในมหาวิทยาลัยใหม่นี้มี
โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศิริราชและโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ คณะเภสัชกรรมศาสตร์
สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ ส่วนการศึกษาตอนที่จะเอารวมในมหาวิทยาลัยใหม่นั้น
ไม่นับชั้นเตรียม ซึ่งมีอยู่ในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์คงให้อยู่ไปตามเดิม
จะรวมแต่ในสี่ปีหลังของแพทยศาสตร์ ในสี่ปีหลังของทันตแพทย์
ในสามปีหลังของสัตวแพทย์ และในสี่ปีหลังของเภสัชกรรมศาสตร์
...จึ่งได้จัดรูปกระทรวงสาธารณสุขเป็นรูปดั่งนี้
1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
2) สำนักงานปลัดกระทรวง
3) กรมการแพทย์
4) กรมประชาสงเคราะห์
834 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
5) กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
6) กรมวิทยาศาสตร์
7) กรมสาธารณสุข
...ได้พิจารณาการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์...ดั่งนี้
1. คณะแพทยศาสตร์
1) แผนกสารบรรณ
2) แผนกปรุงยา
3) แผนกกายวิภาควิทยา
4) แผนกสรีรวิทยา
5) แผนกพยาธิวิทยา
6) แผนกอายุรศาสตร์วิทยา
7) แผนกศัลยกรรม
8) แผนกสูติกรรมและนรีเวชวิทยา
9) แผนกรัศมีวิทยา
10) แผนกพยาบาลผดุงครรภ์
2. คณะเภสัชกรรมศาสตร์
3. คณะทันตแพทยศาสตร์
4. คณะสัตวแพทยศาสตร์
สามคณะหลังนี้ยังไม่มีเวลาแบ่งส่วนราชการ
อาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์...เมื่อกรรมการได้พิจารณาจัดรูปของมหาวิทยาลัยและกรมวิทยาศาสตร์ที่จะมารวมใหม่เรียบร้อยแล้วดั่งนี้...คณะกรรมการทุกคนไม่มีข้อขัดข้อง
จึ่งให้เลขานุการไปจัดพิมพ์รายงานการประชุม บันทึกจัดตั้งกระทรวงการสาธารณสุข
และบันทึกองค์การกระทรวงการสาธารณสุข กับ ร่างพระราชบัญญัติและกฤษฎีกา
พร้อมด้วยหนังสือนำเสนอนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จในวันรุ่งขึ้น...
วันที่ 10 มีนาคม
พ.ศ. 2485
ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงในกระทรวงสาธารณสุข
พุทธศักราช 2485(18) (จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข)
วันที่ 10 มีนาคม
พ.ศ. 2485
ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข
พุทธศักราช 2485(19) (จัดตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์)
835 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
ที่ทำการกระทรวงสาธารณสุข
วังเทวะเวศม์
2485 - 2
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ใช้พจนานุกรมตัวสะกดแบบใหม่
เป็นหลักในการเขียนหนังสือไทย(20)
วันที่ 17 กรกฎาคม
พ.ศ. 2485 จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี ประกาศให้ใช้พจนานุกรมตัวสะกดแบบใหม่เป็นหลักในการเขียนหนังสือไทย
แต่วิธีเขียนภาษาไทยแบบนี้ เป็นเรื่องแปลกต่อสังคมไทย เช่น เขียนว่า “นายกรัถมนตรี” เป็นต้น จึงบังคับใช้เพียง 2 ปี 3
เดือน เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นอำนาจจึงยกเลิกไป
พ.ศ.
2486
2486 - 1
นิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ที่จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ต่อ
ที่กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(21)
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.
2486 พล.ต.ประยูร
ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มีหนังสือมายังอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องนิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ เรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 ปี ต้องย้ายไปเรียนต่อที่กรมมหาวิทยาลัย
กระทรวงสาธารณสุขแต่กระทรวงสาธารณสุขรับได้เพียงปีละ 100 - 120
คน เป็นผู้หญิงไม่เกิน 20 คน
ที่เหลือจากนั้นกระทรวงกลาโหมจะช่วยรับให้เข้าเรียนที่โรงเรียนทหารเสนารักษ์
จังหวัดลพบุรี ได้ไม่เกิน 120 คน แต่ต้องเป็นนิสิตชายทั้งหมด พล.ต.ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เสนออธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาว่า
...การกำหนดให้นิสิตเตรียมแพทย์ปีที่ 2 ที่เรียนจบจากจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย เข้าเรียนต่อในชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์นั้น เป็นการลดชั้นต่ำมาก เพราะโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์ รับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 ส่วนนิสิตเตรียมแพทย์ปีที่ 2 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องผ่านโรงเรียนเตรียมอุดม 2 ปี และเข้าเรียนเตรียมแพทยศาสตร์อีก 2 ปี รวม 4 ปีก่อนแล้ว ต้องไปเรียนวิชาแพทย์อีก 3 ปี รวมเป็นเวลา 7 ปี สำหรับนักเรียนที่เข้าโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์ตรงทีเดียวนั้น สามารถเรียนจบได้ในเวลาเพียง 4 ปี เป็นเวลาต่างกันถึง 3 ปี แต่เงินเดือนที่พึงจะได้รับตามวิทยฐานะไม่ต่างกัน คือ จะได้รับเดือนละ 80 บาทเท่ากัน แต่ถ้าสำเร็จจากเตรียมแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีก 4 ปี (จบหลักสูตร) จะได้เงินเดือนตามกฎเกณฑ์วิทยฐานะถึง 150 บาท...จะเห็นได้ชัดว่า เสียเปรียบกันมาก ฉะนั้นการที่จะไปเรียนต่อยังโรงเรียนนายทหารเสนารักษ์ คงไม่เป็นความตั้งใจของนิสิตที่ได้ตั้งต้นศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแน่...
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2486 จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีคำสั่งว่า
...ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข จัดการรับนิสิตเรียนให้หมด และฉันก็ยังสงสัยว่ามีมากกว่า 240คนหรือที่เสร็จจากเตรียมแพทย์ ฉันเห็นควรมอบโรงเรียนแพทย์ของศิริราชและที่อนันทมหิดลลพบุรีเปนของกะซวงสาะรนะสุขในปีนี้ แล้วรับนักเรียนแพทย์ไม่อั้นจำนวน ขยายนั้นทำได้ ไม่เห็นมีอะไรทำไม่ได้...
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2486 กระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือที่ 13052/2186 เรียนนายกรัฐมนตรีว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ที่ศิริราชพยาบาลตกลงรับนิสิตเตรียมแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน เป็นไปตามความประสงค์ของนายก-รัฐมนตรี
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถือกำเนิดขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร ด้วยมีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน
เนื่องจากในขณะนั้นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
เป็นสถานที่ฝึกอบรมแพทย์เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีทรัพยากรและสถานที่จำกัด
ไม่สามารถรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นได้อีก
จึงจำเป็นต้องหาสถานที่แห่งใหม่เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มอย่างมีคุณภาพ
โดยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของ
837 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
สภากาชาดไทยมีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่และอุปกรณ์ ด้วยเคยใช้เป็นโรงเรียนแพทย์ทหารบกมาก่อน สามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศต่อไปได้
เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น (ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส) จึงได้ติดต่อประสานงานจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย (ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ) โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม “คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490
พ.ศ.
2489
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต (ต่อมาพระองค์ได้รับการถวายพระบรมนามาภิไธยตามโบราณราชประเพณี มีพระนามโดยสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร)